ปูมะพร้าว Coconut crab
ปูมะพร้าว ปูขนาดใหญ่ใกล้สูญพันธุ์ ที่สามารถใช้กล้ามที่แข็งแรงเจาะมะพร้าวได้
ปูมะพร้าว เป็นปูเสฉวนขนาดยักษ์ ที่สามารถปีนต้นมะพร้าวได้ และก้ามมีกำลังมหาศาลขนาดฉีกลูกมะพร้าวได้ เป็นปูที่หายากในไทย
5
ปูมะพร้าว (อังกฤษ: Coconut crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Birgus latro) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน และเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน กิตติศัพท์ที่ว่าปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ในบางครั้งปูมะพร้าวถูกเรียกว่า ปูปล้น หรือ ปาล์มขโมย (เยอรมัน: Palmendieb) ทั้งนี้เนื่องจากปูมะพร้าวมักจะขโมยข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ส่องประกาย อย่างเช่น หม้อ หรือถ้วยสแตนเลส บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า ปูเสฉวนบก แต่อันที่จริงนอกจากปูมะพร้าวแล้ว ยังมีปูชนิดอื่นอีกที่จัดได้ว่าเป็นปูเสฉวนบกเช่นกัน นอกจากนี้ ปูมะพร้าวอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกในแต่ละที่ เช่น ที่เกาะกวม เรียกปูมะพร้าวว่า อายูยู
ปูมะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Birgus latro เป็นปูที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวนและเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า "ปูเสฉวน"
ลักษณะทางกายภาพ
ขนาดตัวเต็มวัยสามารถเจริญเติบโตจนมีน้ำหนัก ๔ กิโลกรัม และความยาวของลำตัว ๔๐เซนติเมตร แต่ถ้านับรวมช่วงขาแล้วจะยาวถึง ๑ เมตร โดยทั่วไปตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ปูมะพร้าวมีอายุประมาณ ๓๐-๖๐ ปี
ลำตัวประกอบด้วยส่วนหัวอก (เซฟาโลโทแรกซ์) และส่วนท้อง ที่มี ๑๐ ขา ขาคู่หน้าสุดเป็นก้ามขนาดใหญ่ ใช้สำหรับเจาะลูกมะพร้าว และสามารถยกน้ำหนักได้ถึง ๒๙ กิโลกรัม ขาอีกสามคู่ถัดมามีลักษณะคล้ายแหนบ ใช้สำหรับเดินและปีนป่าย ส่วนขาคู่สุดท้ายนั้นเล็กมาก ใช้สำหรับทำความสะอาดอวัยวะหายใจ ขาคู่นี้มักจะอยู่ในกระดองตรงช่องที่บรรจุอวัยวะหายใจ
การสืบพันธุ์
ปูมะพร้าวสืบพันธุ์แบบง่ายๆ โดยปูตัวผู้กับปูตัวเมียผสมพันธุ์กันบนบก เมื่อไข่พัฒนาเต็มที่ แม่ปูจะเดินไปที่ชายฝั่ง เกาะอยู่ตามหินหรืออยู่ในน้ำพอท่วมถึง แล้วปล่อยไข่ที่ได้รับการผสมลงทะเล กลายเป็นแพลงก์ตอน
อาหาร
อาหารหลักของปูมะพร้าวคือผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าว อย่างไรก็ดี ปูมะพร้าวสามารถกินได้หมดไม่ว่าจะเป็นใบไม้ ผลไม้เน่า ไข่เต่า ซากสัตว์ และเปลือกของสัตว์อื่นๆ ปูมะพร้าวอาจกินสัตว์อื่นเป็นๆ ที่เคลื่อนไหวช้า เช่น เต่าทะเลที่เพิ่งฟักออกจากไข่ เป็นต้น
แหล่งที่พบ
สามารถพบได้ที่หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียและหมู่เกาะทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนี้ปูมะพร้าวยังพบได้ที่อื่นอีก เช่น ในเซเชลส์ เป็นต้น
ปูมะพร้าวในประเทศไทย
ปูมะพร้าวในบ้านเราเกือบสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว นานๆ จึงจะมีผู้พบเข้าสักตัว คนไทยส่วนใหญ่คงไม่รู้จัก เพราะน้อยคนนักที่จะได้พบเห็น แต่ชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดภูเก็ตบอกว่า ในอดีตจะพบปูมะพร้าวได้ทั่วไปตามเกาะที่ห่างไกลทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยชาวประมงจับมาเป็นอาหารอยู่เนื่องๆ มันเชื่องช้าและจับง่ายเลยใกล้สูญพันธุ์
แต่หลักฐานการพบปูมะพร้าวในประเทศไทยมีเพียง ๓ ครั้ง ครั้งแรกเป็นในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ชาวประมงจับปูมะพร้าวได้ที่บริเวณเกาะสี่ในหมู่เกาะสิมิลัน ส่วนหลักฐานอีกชิ้นเป็นซากสตัฟฟ์อยู่ที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ พบที่เกาะหนึ่งในหมู่เกาะสิมิลัน พบปูมะพร้าวน้ำหนักประมาณ ๑ กิโลกรัม ออกมาหากินที่ชายหาดแถวนั้นเป็นประจำ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เรือสำรวจแหล่งปลาทูน่าในทะเลสากลของกรมประมง เดินทางไปสำรวจมหาสมุทรอินเดีย ได้นำปูมะพร้าวจำนวน ๒๓ ตัว จากเกาะแอสซัมชัน ประเทศเซเชลส์ กลับมาประเทศไทยด้วย โดยเป็นตัวผู้ ๒ ตัว และตัวเมีย ๑๙ ตัว คาดว่าปูมะพร้าวที่นำมานี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาวิจัยเรื่อง ปูมะพร้าวในประเทศไทยต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น